สัญญากู้ยืมไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนมีอายุความเท่าใด?

เช่น ทำสัญญากู้ยืมเงินวันที่ 1ม.ค. 2558 ไม่กำหนดระยะเวลาชำระคืน อายุความในการฟ้องร้องจะเริ่มวันที่ 2ม.ค.2558หมดอายุความในวันที่ 1ม.ค. 2568 เพราะถือว่าเมื่อทำสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาคืนเงินแล้ว ย่อมเป็นสิทธิ์ของเจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ ดังนั้นให้ยืมวันนี้ พรุ่งนี้ก็สามารถทวงคืนได้ทันที เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อายุความในการฟ้องเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเริ่มนับได้ทันทีเช่นกัน

อายุความของสัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลานี้ จะแตกต่างจากสัญญากู้ยืมที่มีกำหนดระยะเวลากู้ยืมซึ่งอายุความจะเริ่มนับเมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ อายุความในการฟ้องร้องถึงจะเริ่มนับ

ดังนั้นผู้เป็นเจ้าหนี้จึงต้องใส่ใจในการนับวันฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืม แต่ละประเภท เพื่อมิให้สัญญากู้ยืมขาดอายุความ

โดย ทนายดีดอทคอม

มีปัญหาสัญญากู้ยืม ร่างสัญญา ร่างจดหมายทวงถาม ฟ้องกู้ยืม ปรึกษา ทนายชีวารัตน์

เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่8811/2556

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิ
เรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำ สัญญากู้เงิน และเมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่ อาจใช้อายุความทั่วไปตามที่โจทก์ฎีกาเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึง กำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตาม สิทธิเรียกร้องนั้น ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของ เจ้ามรดก เมื่อโจทก์เบิกความรับว่า ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม