มรดก

มรดก ของผู้ตาย (เจ้ามรดก)

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิด ของ ผู้ตาย เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เงินฝากธนาคาร หุ้น ทอง ตลอดจนสิทธิหน้าที่ และ ความรับผิดต่าง ๆ  เช่น  ภาระจำยอม  สิทธิจำนอง  สิทธิ ในเครื่องหมายการค้า สิทธิ เรียกร้องต่างๆ เช่น  สิทธิเรียกร้องในฐานะ เป็นเจ้าหนี้ ตามสัญญากู้ยืม  เว้นแต่ ตามกฎหมาย หรือ โดยสถาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัว ของ ผู้ตาย โดยแท้  เช่น  สิทธิตาม สัญญาเช่า  กรณี ผู้เช่า ตาย  ถือว่า สัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นสุดลง ( ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1600 )

 สิ่งที่สำคัญ คือ มรดก นั้น ต้องเป็นทรัพย์สิน ที่ผู้ตายมีอยู่ “ก่อน” ถึงแก่ความตาย   ฉะนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ได้มา “หลัง” ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เช่น  เงินบำนาญ เงินประกันชีวิต จึงไม่เป็น มรดก ( ฎ๊กา 4714/2542)

การตายแบ่งเป็น

  • การตาย โดย การเสียชีวิต
  • การตาย โดย ผลของกฎหมาย หมายถึง ผู้นั้นถูก ศาลสั่งให้เป็น ผู้สาบสูญ

 

จะเห็นได้จาก ข่าวตระกูลดังมากมายที่มีปัญหาเรื่อง ทรัพย์มรดก ของผู้ตาย เมื่อผู้ตาย ได้ ถึงแก่ความตายแล้ว https://www.sanook.com/news/2031495/

ดังนั้น เราจึงต้องทราบก่อนว่า ใครบ้าง ที่มีสิทธิ ได้รับ มรดก

ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก แบ่งเป็น (ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา1603)

  • ทายาทตามพินัยกรรม คือบุคคล ที่มีชื่อ ตามพินัยกรรม ที่ผู้ตาย หรือ เจ้ามรดก ระบุไว้
  • ทายาทโดยธรรม แบ่งเป็น 6 ลำดับ (ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1629 )
    • ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตร โดยชอบด้วยกฎหมาย (บิดา มารดา จดทะเบียนสมรสกัน หรือ บุตร ที่บิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่บิดา ได้ไปยื่นคำร้อง ต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย) , บุตรนอกกฎหมาย ที่บิดา รับรองแล้ว (บุตร ที่บิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ บิดา เลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล เปิดเผยต่อบุคคลทั้วไปว่า เป็นบุตร) และ บุตรบุญธรรม
    • บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก (บิดา ที่จะทะเบียนสมรสกับ มารดา เท่านั้น)
    • พี่น้อง ร่วมบิดา มารดา เดียวกัน
    • พี่น้อง ร่วมแต่บิดา หรือ มารดาเดียวกัน ( พี่น้องต่างพ่อ หรือ ต่างแม่ )
    • ปู่ ย่า ตา ยาย
    • ลุง ป้า น้า อา
    • คู่สมรสที่มีชิวิตอยู่ ถือเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1635

การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แบ่งอย่างไร

การรับมรดกนั้น จะรับเป็นลำดับเรียงลงไป หากทายาทลำดับแรกมีชิวิตอยู่ หรือ มีผู้รับมรดกแทนที่แล้ว ทายาทที่อยู่ ลำดับถัดลงมาก็จะไม่มีสิทธิรับ มรดก เลย ตามหลัก “ญาติสนิทตัดญาติห่าง”

หากบิดามารดา ของ ผู้ตาย หรือ เจ้ามรดก ยังมีชิวิตอยู่ ให้รับ มรดก เสมือนหนึ่งว่า เป็น ทายาทชั้นบุตร ( ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1630 )

การตั้งผู้จัดการมรดก

https://www.tanaidee.com/wp-admin/post.php?post=332&action=edit

ค่าบริการยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก ไม่แพงอย่างที่คิด

https://www.tanaidee.com/wp-admin/post.php?post=354&action=edit

ปรึกษากฎหมาย ตั้งผู้จัดการมรดก แบ่งมรดก ทนายชีวารัตน์ 093-8791914


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง