ผู้จัดการมรดก

5 ขั้นตอน อยาก เป็น ผู้จัดการมรดก ทำอย่างไร

คำถาม เมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว กรณี เจ้ามรดก ไม่ได้ทำพินัยกรรม ไว้ หากเราต้องการรับมรดก หรือ เป็น ผู้จัดการมรดก ต้องทำอย่างไร ทีมทนายได้รวบรวม 5 ขั้นตอน ในการรับมรดก หรือ เป็น ผู้จัดการมรดก มาดังต่อไปนี้

  1. รวบรวม ทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดก หรือ ผู้ตาย เพื่อเตรียม จัดการมรดก

ทรัพย์มรดก คือ ทรัพย์สิน ทุกชนิดของผู้ตาย ที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้ง สิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิดต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ ในที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เงินฝากธนาคาร หุ้น ทอง สิทธิการเช่าซื้อ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น

2. ยื่นคำร้อง ขอตั้ง ผู้จัดการมรดก

เมื่อ รวบรวมทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดก ขั้นตอนถัดไป ในการ จัดการมรดก ให้ทายาทเจ้ามรดก หรือผู้มีส่วนได้เสีย ในกองมรดก ยื่นคำร้อง ขอตั้งผู้จัดการมรดก โดย ผู้ที่จะยื่นคำร้อง ขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กฎหมายกำหนด และ ไม่เป็นบุคคล ที่ศาลห้าม

คุณสมบัติของผู้จัดการทรัพย์มรดก

(ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1718) กำหนด คุณสมบัติ ของ ผู้จัดการทรัพย์มรดก ไว้ดังนี้)

  • ต้อง บรรลุนิติภาวะ (หรือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์)
  • ต้อง ไม่เป็น บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ
  • ต้อง ไม่เป็น บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนล้มละลาย

3. รวบรวม เอกสาร ที่จะใช้ประกอบ การยื่นคำร้อง ขอตั้งผู้จัดการมรดก

เอกสาร ที่ใช้ประกอบ ในการยื่น คำร้องได้แก่

  1. สำเนา ใบมรณบัตร ของ ผู้ตาย
  2. สำเนา ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ตาย(ประทับตรา “ตาย”)
  3. สำเนา ทะเบียนบ้าน, สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน ของ ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  4. สำเนา ใบมรณบัตร ของ บิดามารดา กรณี บิดามารดา ของ ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย แล้ว
  5. สำเนา ทะเบียนสมรส/หรือ ทะเบียนการหย่า ของ สามี หรือ ภรรยา ของ ผู้ตาย
  6. เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง กรณี ทายาทรับมรดกแทนที่ / เจ้ามรดกมีการรับรองบุตร / เจ้ามรดกมีบุตรบุญธรรม
  7. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลของผู้ตาย / ผู้ร้อง / ทายาท และ ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย
  8. สูติบัตร ของ บุตรของผู้ตาย กรณี บุตร ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ไม่สามารถ ให้ความยินยอมได้
  9. พินัยกรรม ของ ผู้ตาย (ถ้ามี)
  10. หนังสือ ให้ความยินยอม ในการร้องขอจัดการมรดก 
  11. สำเนา บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนา ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ให้ความยินยอม ทุกคน
  12. บัญชีเครือญาติ
  13. เอกสาร เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ทะเบียน หรือ ใบอนุญาตให้มี และ ใช้อาวุธปืน และอื่น ๆ เป็นต้น

ดูค่าธรรมเนียม ในการยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ผู้จัดการมรดก เพิ่มเติม

http://www.lp.ago.go.th/lp-lawaid/index.php/2018-05-09-01-07-17

4. ไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว ก็ยื่นคำร้องvขอตั้งผู้จัดการมรดก และ ไต่สวนคำร้องดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่ง ตั้งผู้ร้อง หรือ บุคคล ที่ผู้ร้อง ร้องขอ ให้เป็นผู้จัดการมรดก ของ เจ้ามรดก

5.คัดคำสั่งศาล และ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

เมื่อไต่สวน คำร้องเสร็จแล้ว หาก ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ร้อง หรือ บุคคล ที่ผู้ร้อง ร้องขอ เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้อง สามารถ ขอคัดคำสั่งศาล และ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการ จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดก จะมีสิทธิ และ หน้าที่ที่จะแบ่งปันทรัพย์มรดก ให้แก่ทายาท ของเจ้ามรดกต่อไป (ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1719)

แต่มีขั้นตอนทางลัด ที่ง่ายกว่านั้น จ่ายเพียง 5,999 บาท คลิ้กเลย

https://www.tanaidee.com/2021/08/05/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5/

มาตรา 1718  บุคคลต่อไปนี้ จะเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่ บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคล ซึ่งศาลสั่ง ให้เป็น ผู้เสมือนไร้ความสามารถ

(3) บุคคล ซึ่ง ศาลสั่ง ให้เป็น คนล้มละลาย

มาตรา 1719 

ผู้จัดการมรดก มีสิทธิ และ หน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่ง แจ้งชัด หรือ โดยปริยาย แห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการมรดก โดยทั่วไป หรือ เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก