รวมกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและหนี้นอกระบบ

รวมกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและหนี้นอกระบบประมวลรัษฎากร            

ม. 91/2(5) ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ให้กู้ยืมเงิน มีรายได้จากดอกเบี้ย ต้องปฏิบัติดังนี้
1. ขอจดทะเบียนธุรกิจเฉพาะ ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าผิด
2. ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 บวกกับภาษีบำรุงท้องถิ่นอีก ร้อยละ 0.3 รวมเป็น ร้อยละ 3.3
3. กรมสรรพากรจะตรวจสอบย้อนหลัง 10 ปี หากเจ้าหนี้ไม่เคยยื่นแบบเสียภาษีว่าเคยมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ เจ้าหนี้ก็จะมีความผิดที่แจ้งฐานภาษีเงินได้ผิดไปจากความเป็นจริง ต้องเรียกชำระเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่า ค่าปรับอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าปรับต้องย้อนหลังไป 10 ปี (120 เดือน)    

“พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475”   ให้คิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากเกินกว่านี้ สัญญาตกเป็นโมฆะ เรียกเก็บได้เฉพาะเงินต้น   “ปร่ะมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”                   มาตรา 654 เรียกดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี                   มาตรา 653  การกู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องบังคับคดีไม่ได้     “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522”                   คิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเกินร้อยละ 15 ต่อปี เข้าข่ายเป็นสัญญาไม่เป็นธรรม ผู้กู้ได้รับการคุ้มครอง   “พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2542”                   กรณีเจ้าหนี้ไม่สามารถแจ้งที่มาของทรัพย์สินหรือได้มาจากการทำผิดก.ม. อาจโดนยึดทรัพย์เพราะเข้าข่ายฟอกเงินได้     มีปัญหากู้ยืมเงิน ส่งจดหมายทวงหนี้ ชำระหนี้ ปรึกษา ทนายชีวารัตน์